วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

นวัตกรรมว้าว ๆ

หกเหกดเหกดกหดเดก 7. อาหารแห้งมื้อย่อส่วนพกสะดวก อาหารแห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งสำหรับนักบินอวกาศ ถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจมากขึ้น เพื่อที่จะไปให้ถึงดวงจันทร์ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางในอวกาศทั้งขาไปและขากลับรวม 13 วัน นาซาได้คิดหาหนทางที่จะประหยัดพื้นที่เก็บของและทำให้ยานอวกาศเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นที่มาของการคิดค้นวิธีเก็บเสบียงอาหารโดยไม่ให้เน่าเสีย ทั้งมีขนาดเล็กพกสะดวกไม่เทอะทะหรือรับประทานได้ลำบาก รำลึก 60 ปีส่ง 'สปุตนิก' สู่อวกาศ เราจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินบนดวงจันทร์ได้หรือไม่? พอเพียงแบบนาซา เปลี่ยนปัสสาวะเป็นน้ำดื่ม ทางออกสำหรับเรื่องนี้คืออาหารที่ทำแห้งด้วยวิธีแช่เยือกแข็ง (Freeze-drying) กระบวนการที่ว่านี้จะดึงน้ำออกจากอาหารสดที่เพิ่งปรุงสำเร็จในภาวะอุณหภูมิต่ำ หากต้องการรับประทานเมื่อใดก็เพียงเติมน้ำร้อนเข้าไปเท่านั้น นอกจากอาหารแบบนี้จะดีต่อนักบินอวกาศแล้ว ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักปีนเขาและคนที่ตั้งแคมป์ในป่ามาหลายชั่วรุ่นเพราะมีราคาถูก บางชนิดมีราคาเพียงห่อละ 4 ดอลลาร์ หรือ 123 บาทเท่านั้น
ที่มา 1 https://ahead.asia/2018/10/04/6-innovative-food-tech/ https://moocs.nia.or.th/article/food-tech-2021

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

งานนวัตกรรม ว้าว ๆ

9. ผู้ป่วยมีเฮ!! ญี่ปุ่นผลิตเครื่องช่วยเดิน เครื่องช่วยเดิน “ Walking Assist” ที่ผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้ออกมาสร้างความสุขสำหรับผู้ป่วยให้สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก โดยเครื่องนี้ ควบคุมการทำงานด้วยมอเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะประมวลข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่อยู่บนมุมสะโพกในขณะเดิน เพื่อรักษาสมดุล และช่วยให้เดินได้ง่ายขึ้น งานนี้เหล่าผู้ป่วยก็จะได้เดินออกกำลังกาย ชมนกชมไม้อย่างสมใจซะที ขอบคุณรูปจาก http://fareastgizmos.com/

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เทคโนโลยี นวัตกรรม ว้าว ๆ

 



1) กางร่มให้โลกด้วยเทคโนโลยี Solar Geoengineering 

ในปี 1991 ภูเขาไฟปีนาตูโบในฟิลิปปินส์เกิดการปะทุขึ้น สร้างความเสียหายจำนวนมาก หลายครัวเรือนต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยและต้องตกงาน แต่ในเรื่องเลวร้ายก็ยังมีเรื่องดีอยู่บ้าง เพราะเถ้าภูเขาไฟและฝุ่นที่ลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศนั้นส่งผลให้โลกเย็นลงถึง 0.5 องศาเซลเซียสนานกว่า 4 ปี

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Solar Geoengineering” หรือการกางร่มให้โลกแบบเดียวกับที่ภูเขาไฟทำโดยบังเอิญ แต่วิศวกรจะทำโดยตั้งใจ อย่างไรก็ตาม มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่าวิธีนี้จะได้ผลจริงหรือเปล่า จะกระทบสภาพอากาศของโลกไหม หรือถ้าทำสำเร็จ มันจะทำให้คนเลิกรักษ์โลกหรือเปล่า ข้อกังขามากมายทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่ถูกสนับสนุนและพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ

ถึงกระนั้น ในปี 2022 นี้ กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะลองปล่อยบอลลูนขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ และปล่อยวัสดุบางอย่างที่มีการทำงานคล้ายกับเถ้าภูเขาไฟ (อย่างแคลเซียมคาร์บอเนต) จำนวน 2 กิโลกรัม เพื่อวัดผลดูว่าจะกระจายวงกว้างแค่ไหนและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง

ผู้ที่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้มองว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจเรื่องนี้ เพราะหากเราลดการปล่อยก๊าซไม่ได้และต้องการซื้อเวลาเพื่ออยู่ต่อบนโลกนี้จริงๆ เทคโนโลยี Solar Geoengineering นี่แหละอาจเป็นคำตอบ 

เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ทดลองส่งทำใหม่

“นวัตกรรมการแพทย์” โอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ


กาชาดกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ ลัทธิศาสนา ซึ่งการช่วยเหลือกระทำทั้งในประเทศของตนเอง และต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและบรรเทาทุกข์ทรมานของมนุษย์ทุกหนแห่ง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของทุกคน เคารพต่อสิทธิมนุษยชน สนับสนุน และส่งเสริมความเข้าใจ ความเป็นมิตรภาพและความร่วมมือ รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพ ระหว่างประชากรทั้งมวล


ความเท่าเทียมและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ (Health equity) เป็นสิ่งที่ประชากรโลกทุกคนควรจะได้รับด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียม ปราศจากความแตกต่าง ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ สังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัย โดยในประเทศไทยหลังจากที่มีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนสิทธิในการเข้ารับการบริการในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Universal Coverage for Emergency Patient : โครงการ UCEP) ที่ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาได้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามการดูแลประชาชนคนไทยให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมนั้นในทางปฏิบัติทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น การกระจุกตัวของบุคลากรทางการแพทย์ งบประมาณสาธารณสุขของประเทศไทย การกำกับดูแลค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเอกชน ฯลฯ


“นวัตกรรม” จึงเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่แพร่ระบาดอยู่ทั่วโลก รวมถึงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางที่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีความเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงกว่าวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์โดยฝีมือคนไทยขึ้นมากมาย เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลน เนื่องจากมีความต้องการทั่วโลก


สำหรับตัวอย่างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ฝีมือคนไทยที่ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤตนี้ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

 

  1. ระบบการติดตาม เช่น Agnos: ระบบดูแลผู้ป่วยโดยชุมชน เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการดูแลผู้ติดเชื้อหรือที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและบุคลากรทางการแพทย์ โดยให้กรอกข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินของทีมแพทย์อาสา เช่น โรคประจำตัว อาการไอ เจ็บคอ หายใจ เหนื่อยหอบ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการตามเกณฑ์ผ่านระบบ 
  2. ระบบสุขภาพทางไกล ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเดินทางมายังโรงพยาบาล เช่น ระบบติดตามการใช้ยาและแนะนำการใช้ยาที่บ้านสำหรับผู้ป่วย ระบบการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วย ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับคัดกรองและติดตามโรคติดต่อ และระบบคัดกรองฟิล์มเอกซ์เรย์ปอดรองรับการอ่านภาพเอกซ์เรย์ 
  3. การเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น ระบบ QueQ สำหรับแก้ปัญหาความหนาแน่นของการให้บริการฉีดวัคซีนและการตรวจหาเชื้อ และ 
  4. การบริหารจัดการอุปทาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็น เช่น ชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แบบรวดเร็ว (ATK)  หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ้ำได้ที่สามารถป้องกันได้ทั้งการรับเชื้อโควิด-19 และ ห้องแยกผู้ป่วยที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบถอดประกอบได้สำหรับผู้ป่วยหนักโรคโควิด-19

  5. นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ยังได้มีโอกาสร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ บริษัท อินทรอนิคส์ จำกัด สนับสนุนและพัฒนาเพื่อสร้าง “เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง (High flow Nasal Cannula - HFNC)” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์ใช้รักษาชีวิตผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีปัญหาในการหายใจ โดยสามารถบำบัดด้วยการให้ออกซิเจนได้มากกว่า ผ่านสายช่วยหายใจทางช่องจมูก ซึ่งปกติเครื่อง HFNC มีการใช้งานอยู่แล้วในสถานพยาบาลสำหรับรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจที่ผิดปกติ แต่ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยวิกฤตและกึ่งวิกฤตเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะมีการระดมจัดซื้อทั้งจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือการขอรับบริจาคจากหน่วยงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีจำนวนจำกัดและมีราคาที่สูง 


    เครื่อง HFNC ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยนี้ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูง ด้วยประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมของบริษัทฯ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้สร้างต้นแบบที่ผ่านการทดสอบ และได้รับอนุญาตจากทางสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้สามารถผลิตและใช้งานได้ภายใต้ สถานการณ์ฉุกเฉินร่วมกับการควบคุมจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ และมีแผนดำเนินการขยายผล โครงการเพื่อกระจายเครื่อง HFNC ไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อม และอยู่ภายใต้ประกาศข้อกำหนดของ อย. บริษัทฯ และสภากาชาดไทย พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ด้วยเครื่อง HFNC ช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาผู้ผลิตจากต่างประเทศ โดยโครงการที่ขอรับทุนสนับสนุนจาก สนช. นี้จะเป็นการดำเนินการเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงเครื่อง HFNC ไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณสาธารณะสุขของประเทศไทย ทำให้ประชาชนคนไทยให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม


    ที่มา

เทคโนโลยีใหม่

 ประชากรโลกทั้งใบ ณ ปี 2022 มีจำนวน 7.9 พันล้านคน ตามข้อมูลจาก worldometers และในจำนวนนี้ 2 พันล้านคน หรือประมาณ 25% ของประชากรโลก ยังเข้าไม่ถึง “น้ำสะอาด” ตามการประเมินของสภานวัตกรรมยุโรป หรือ EIC (European Innovation Council) ที่เปิดเผยตัวเลขออกมาเมื่อวันน้ำโลก (World Water Day) วันที่ 22 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา

ด้วยภารกิจที่หลายชาติให้ความสำคัญในเรื่องการจัดหาน้ำสะอาดและเพียงพอต่อมนุษยชาติ รวมถึงประเทศ

ต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป (EU) ทางอียูจึงให้การสนับสนุน ให้ความรู้ และเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการที่คิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำน้ำสะอาดและการเข้าถึงน้ำสะอาด เพราะตระหนักว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงเหตุผลด้านคุณภาพชีวิต แต่คือโอกาสทางธุรกิจ 

ในปีนี้ EU ก็ได้ให้ทุนสนับสนุนสตาร์ตอัปเพื่อพัฒนาเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยมี 3 บริษัทในยุโรปที่คว้าทุนดังกล่าวได้ และสะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะช่วยบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำอันเป็นหนึ่งในวิกฤตของโลกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

Mimbly
กรองน้ำสะอาดจากการซักล้างในเครื่องซักผ้า
มิมบลีย์ (Mimbly) สตาร์ตอัปจากโปรเจ็กต์รักษ์โลกของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาร์เมอร์ส ในเมืองโกเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ได้พัฒนานวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนามาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างยั่งยืน จากการใช้เครื่องซักผ้าในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป

มิมบลีย์หาวิธีทำให้น้ำที่ผ่านการใช้งานในเครื่องซักผ้าสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ รวมถึงสลายไมโครพลาสติกที่ติดกับเสื้อผ้าไม่ให้ก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมหลังผ่านกระบวนการซักล้าง โดยพัฒนาเทคโนโลยีกรองน้ำสะอาดจากการซักล้าง ด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องซักผ้า ทำงานโดยการดักจับไมโครพลาสติกแยกออกจากน้ำ แล้วส่งผ่านน้ำเหล่านั้นเข้าอุปกรณ์ที่ชื่อ “Mimbox” เพื่อแปลงน้ำเสียเป็นน้ำดีอีกครั้งหนึ่ง

Mimbox จะช่วยทั้งในเรื่องการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบริโภคน้ำโดยไร้ประโยชน์ และสามารถรีไซเคิลน้ำเสียจากการซักล้างกลับมาเป็นน้ำดีที่ใช้ซ้ำได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานในเครื่องทำความร้อน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยในยุโรปที่ทำให้การบริโภคพลังงานมีปริมาณสูงขึ้น

แม้ปัจจุบันอุปกรณ์ Mimbox จากมิมบลีย์จะยังอยู่ในช่วงทดลองใช้กับเครื่องซักผ้าในภาคอุตสาหกรรม เช่น ในโรงแรม หรืออพาร์ตเมนต์ให้เช่า ยังไม่ได้นำไปสู่ตลาดผู้บริโภครายย่อย แต่บริษัทก็พยายามพัฒนาการใช้งานผ่านการเก็บข้อมูลจากลูกค้า เพื่อหาวิธีนำน้ำจากการซักล้างกลับมาใช้ใหม่ และอนาคตจะสามารถนำมาใช้กับเครื่องซักผ้าตามครัวเรือนได้ โดยมีโครงการนำร่องในโกเตนเบิร์ก พร้อมเก็บข้อมูลทั้งเรื่องการประหยัดน้ำ การขจัดไมโครพลาสติก และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อิซาเบลลา ปาล์มเกรน ซีอีโอและผู้ก่อตั้งมินบีลย์ บอกว่า การใช้งาน Mimbox ไม่เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำในเครื่องซักผ้าเท่านั้น แต่สิ่งที่บริษัทกำลังทำคือการสร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นกว่าเดิม และด้วยความรู้ที่บริษัทมี เธอก็หวังว่าโซลูชันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคน้ำอย่างมีประสิทธิภาพได้

Ingeobras
บำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมให้กลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่
อินจีโอบราส (Ingeobras) สตาร์ตอัปจากสเปน ซึ่งมีเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำมันเสียในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ได้พัฒนาระบบการบำบัดน้ำเสียในชื่อว่า “ANAERGY” เพื่อบำบัดน้ำในเบื้องต้น พร้อมกับสร้างพลังงานระหว่างกระบวนการ และการบำบัดน้ำในระดับตติยภูมิ เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง

ANAERGY เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาจากหลายหน่วยงาน เนื่องจากเทคโนโลยีนี้มีความก้าวหน้ามากสำหรับแวดวงอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งการทำงานของระบบ ANAERGY ยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีผลการวิจัยพิสูจน์ว่าสามารถลดการปนเปื้อนในน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 99% ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนการดำเนินการ การบำรุงรักษา และที่สำคัญคือช่วยลดพื้นที่ใช้สอยในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งแม้จะไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ก็สำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบการทำงานของ ANAERGY มุ่งเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคอาหารและการเกษตร ด้วยความมุ่งมั่นจะเข้าสู่ตลาดระดับบน ผ่านกระบวนการพิจารณาจากฝ่ายกำกับดูแลด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทจะสามารถยกระดับเข้าสู่ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถมีรายได้ สร้างผลกำไรจากการพัฒนาเทคโนโลยีจนเป็นธุรกิจได้

โซเฟีย ควินทานา ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาดและการขายของอินจีโอบราส เปิดเผยว่า กลยุทธ์ใหม่ของยุโรปคือการสร้างสมดุลด้านสภาพภูมิอากาศและความเป็นกลางทางคาร์บอน (Climate Neutrality) ภายในปี 2050 ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน และเธอมั่นใจว่า ด้วยระบบการบำบัดน้ำเสียของ ANAERGY จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

Hydro Volta
แปลงน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด
ไฮโดรโวลต้า (Hydro Volta) จากเบลเยียม เป็นเจ้าของนวัตกรรมการแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด จากสิ่งที่รู้กันดีว่าน้ำบนโลกใบนี้ 70% คือน้ำทะเล และมีน้ำจืดเพียง 20% เท่านั้น ทั้งยังเป็นน้ำจืดที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้เพียงไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นความต้องการเทคโนโลยีสำหรับกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำจึงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่วิธีการแบบเดิมอาจล้าสมัยไปแล้ว รวมถึงการแยกเกลือออกจากน้ำแบบเดิมในบางเทคโนโลยี ยังมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย

ไฮโดรโวลต้ามีเครื่องมือที่ได้การจดสิทธิบัตรและประกาศว่า สามารถแยกเกลือออกจากน้ำ แปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเทคโนโลยีแบบเก่ามากถึง 60%

โซลูชันจากนวัตกรรมของไฮโดรโวลต้านี้ชื่อว่า “SonixED” เป็นระบบการแยกเกลือออกจากน้ำประสิทธิภาพสูงด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ ที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน และเพิ่มประสิทธิภาพของสมองกลในการทำงานของระบบ เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีอิเล็กโทรไดอะไลซิส เทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ (SonixED) และเทคโนโลยีสมองกลอื่น ๆ (ออสโมซิสแรงดันต่ำ) เพื่อนำไปสู่การทำ RO (Reverse Osmosis) หรือการแปลงโมเลกุลน้ำเพื่อนำไปใช้กินได้ โดยการทำงานของระบบนี้ มีทั้งตัวแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืดในรูปแบบขนาดพกพาใช้ในครัวเรือน ขนาดกลางและขนาดใหญ่สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในราคาที่เข้าถึงได้

จอร์จ บริก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งไฮโดรโวลต้า บอกว่า น้ำสะอาดต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ทุกที่ และการทำงานของบริษัทจะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นได้จริง

ที่มา :
บทความ “World Water Day: Discover EIC innovations working on water saving solutions” จาก https://eic.eismea.eu
mimbly.se
ingeobras.com/en
hydrovolta.com

เรื่อง : รวิ รัชนีกร

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

งานเทคโนโลยีปและนวัตกรรมใหม่

 

ทคโนโลยีที่สำคัญในยุคดิจิทัล: เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและไร้คนขับ Tech Series: Electric and Autonomous Cars

ปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และยานยนต์ไร้คนขับ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาด้านพลังงานน้ำมัน และความต้องการใช้พลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Car) หมายถึง รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่สร้างมาจากแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ โดยเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วไปมีอยู่ 2 ส่วน คือ (1) แบตเตอรี่ ซึ่งเป็นตัวเก็บพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า ที่ปัจจุบันใช้แบบ Lithium-Ion ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งยังคงมีราคาสูงอยู่ และต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า และ (2) ชิ้นส่วนในระบบส่งกำลัง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • รถยนต์ไฮบริดพลังงานไฟฟ้าแบบชาร์จไม่ได้ (Hybrid-electric Vehicles หรือ HEV) เป็นรถยนต์ประเภทที่มีเครื่องยนต์เหมือนกับที่ใช้ในรถยนต์น้ำมันทั่วไป แต่มีขนาดที่เล็กกว่า และใช้การผสมผสานการสร้างพลังงานจากเครื่องยนต์สันดาป หรือเครื่องยนต์ใช้น้ำมันและจากการชาร์จกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฮบริดพลังงานไฟฟ้าแบบชาร์จได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV) เป็นประเภทของรถยนต์ที่ต่างกับ HEV ทั่วไป เพราะมีการใส่มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับชาร์จกระแสไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาทำงานควบคู่ไปกับเครื่องยนต์สันดาป

  • รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่โดยสมบูรณ์ (Battery Electric Vehicles หรือ BEV) เป็นรถยนต์ประเภทที่มีแต่มอเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ตัวมอเตอร์จะชาร์จพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าและสร้างแรงบิดให้รถยนต์ขับเคลื่อน

ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องด้วยยังมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ประกอบกับประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าเองก็ยังต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วไป แต่ด้วยการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ที่ทำให้เก็บพลังงานได้มากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง และความตระหนักในเรื่องการลดมลภาวะโดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้บริโภคจึงมีแนวโน้มที่จะหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car หรือ Self-driving Car) หรือรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยคนควบคุม เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีด้านยานยนต์ที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ตลาดโลกเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองอัตโนมัติเป็นการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้

  • Navigation หรือระบบแผนที่ ซึ่งประกอบด้วยระบบการระบุตำแหน่งของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจากดาวเทียม และระบบแผนที่เสมือนจริงที่เก็บรวบรวมข้อมูลในคลังข้อมูลดิจิทัล ทั้งนี้ ข้อมูลที่เก็บคือข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งของรถบนถนน เช่น ตำแหน่งของไฟจราจร ตำแหน่งทางม้าลาย ป้ายสัญญาณห้ามเลี้ยวขวา ความกว้างของเลนถนน รวมถึง ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตให้รถวิ่งได้ในถนนแต่ละเส้น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะใช้ระบบแผนที่ซึ่งประมวลผลร่วมกับระบบ Sensor เพื่อเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำในการตัดสินใจ

  • Computer Vision หรือระบบที่ทำหน้าที่เป็นตาและหูให้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเมื่อรถวิ่ง

  • Deep Learning หรือระบบประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ ทำหน้าที่เหมือนสมองของรถยนต์ไร้คนขับ เป็นระบบที่ทำให้รถยนต์อัตโนมัติสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองจากการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากระบบ Computer Vision

  • Robotics หรือระบบที่เชื่อมต่อระบบประมวลผลส่วนกลางเข้ากับระบบเครื่องจักรต่างๆ ในตัวรถโดยทำหน้าที่เสมือนเส้นประสาทที่เชื่อมต่อสมองของมนุษย์เข้ากับแขนขาและส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ในด้านระดับความเป็นอัตโนมัติในรถยนต์ไร้คนขับ สมาคมวิศวกรยานยนต์ หรือ Society of Automotive Engineering (SAE) ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ ได้ทำการแบ่งระดับความเป็นอัตโนมัติในรถยนต์ไร้คนขับ จำแนกตามระดับของการเข้ามามีส่วนยุ่งเกี่ยวของมนุษย์ โดยมีระดับความอัตโนมัติตั้งแต่ระดับ 0 (No Automation) ซึ่งเป็นระดับที่มนุษย์ควบคุมรถยนต์เองทั้งหมด จนถึงระดับ 5 (Full Automation) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนบนท้องถนนได้เองในทุกสภาวะและมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนเหมือนมนุษย์ทุกประการ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีรถยนต์อัตโนมัติที่ทันสมัยที่สุดของบริษัทที่เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4 นั่นหมายถึง รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้เองในสภาวะที่จำกัด

รถยนต์ไร้คนขับมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต เนื่องจากสามารถช่วยลดอุบัติเหตุ เป็นตัวเลือกในการเดินทางสำหรับคนที่ไม่สามารถขับรถได้ รวมถึงการลดระยะเวลาในการเดินทาง

โดยสรุป เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruptive Technology) ต่อการคมนาคมและอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกในอนาคตอย่างแน่นอน แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง อัตราการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐของแต่ละประเทศ

ภาพแสดงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ไร้คนขับบนท้องถนน






วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ใบงานที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่

 

ถ้าจะกล่าวถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มาเปลี่ยนโลก ดึงความสนใจของผู้คนได้อย่างมหาศาล คงหนีไม่พ้น ยานยนต์ไฟฟ้า ที่โดยหลักแล้ว มีแก่นแกนที่จะหยุดการใช้รถยนต์แบบสันดาปและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งทำร้ายสภาพแวดล้อมของโลกมาอย่างยาวนาน และเปลี่ยนโลกให้เข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อ โลกยานยนต์ไฟฟ้า อยู่ในความสนใจของชาวโลก ก็มีนวัตกรรมมากมายที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของยานยนต์ไฟฟ้าทุกชนิด

มาในวันนี้ เราได้รวบรวมเอา 3 นวัตกรรมระดับโลกสุดเจ๋ง ที่คิดค้นขึ้นเพื่อตอบสนอง โลกยานยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง มาแนะนำกัน

หุ่นยนต์ชาร์จรถไฟฟ้า ปลดล็อค โลกยานยนต์ไฟฟ้า ให้เป็นอะไรที่ง่ายขึ้นไปอีก

เชื่อว่าแค่นวัตกรรมแรกก็สร้างความว๊าวให้ทุกคนได้แล้ว กับ หุ่นยนต์ชาร์จรถไฟฟ้า ที่ผสมผสานเอาเทคโนโลยีแห่งยุคอย่าง หุ่นยนต์ หรือ Robotic มาใช้อำนวยความสะดวกในการชาร์จแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยนวัตกรรมนี้คิดค้นโดยแบรนด์รถยนต์ชื่อดังระดับโลกอย่าง Volkswagens
หุ่นยนต์ชาร์จรถไฟฟ้า
โดยได้นำเสนอหุ่นยนต์ต้นแบบที่สามารถชาร์จรถยนต์ EV ตอบโจทย์และอำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างน่าสนใจ นั่นคือหุ่นยนต์ตัวนี้จะเคลื่อนที่ไปยังรถที่ต้องการชาร์จไฟโดยผู้ใช้งานสั่งการผ่านแอปหรือเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ค V2X เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่มันยังช่วยประหยัดพื้นที่ของสถานีชาร์จ และช่วยรองรับความต้องการกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับตัวหุ่นยนต์ชาร์จรถยนต์ EV นี้จะมาพร้อมกับกล้อง เลเซอร์สแกนเนอร์ และเซนเซอร์อัลตร้าโซนิก โดยระบบเหล่านี้จะช่วยให้หุ่นยนต์ทำการชาร์จไฟอัตโนมัติและเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระกลางลานจอดรถด้วย

Volkswagens

และเมื่อมีคำสั่งการมาจากผู้ใช้งานผ่าน V2X เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะทำการพาตัวเองที่พ่วงติดกับอุปกรณ์เก็บพลังงานเคลื่อนที่ไปหารถ แล้วทำการเสียบปลั๊กไฟชาร์จเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติ จากนั้นก็จะปล่อยให้อุปกรณ์เก็บพลังงานนี้ทำหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าชาร์จรถต่อไป (อุปกรณ์เก็บพลังงานชาร์จไฟได้ผ่านกระแสตรงสูงสุด 50 kWh) ส่วนตัวหุ่นยนต์ก็จะไปหารถที่ต้องการชาร์จไฟคันอื่นต่อ และเมื่อชาร์จไฟเสร็จเรียบร้อย หุ่นยนต์จะมาเก็บอุปกรณ์เก็บพลังงานนี้เพื่อนำกลับไปเก็บที่สถานีชาร์จไฟ
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ หุ่นยนต์ชาร์จไฟเคลื่อนที่นี้จะทำงานเหมือน Power Bank ที่เราใช้ทำหน้าที่ชาร์จไฟสำรองให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรานั่นเอง หากในอนาคตการพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบนี้เสถียรมากขึ้นใช้งานได้จริง เชื่อว่า โลกยานยนต์ไฟฟ้า จะต้องมีอะไรสนุกๆ ออกมาให้ผู้ใช้งานได้เพลิดเพลินอย่างแน่นอน

เครื่องบินไฟฟ้า การพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง เปลี่ยนโลกการเดินทางให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แม้จะไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นในโลก แต่ในปัจจุบัน เครื่องบินไฟฟ้า ได้รับการพัฒนาไปแบบไม่หยุดยั้ง ทั้งในวงการบินทั่วไป และวงการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศก็มีแผนการปรับเอา เครื่องบินไฟฟ้า มาใช้ทั้งเพื่อจุดประสงค์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำเทคโนโลยีสะอาดนี้ด้วย

โดยล่าสุด บริษัทอีวิเอชั่นของอิสราเอล ได้เปิดตัว เครื่องบินไฟฟ้า ที่ชาร์จแบต 30 นาที บินได้นาน 1 ชั่วโมง ระยะทาง 814 กิโลเมตร ทำความเร็วได้ 250 น็อต หรือ 463 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่บินสำเร็จแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเครื่องบินพาณิชย์ 9 ที่นั่ง
นี่เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่ากระแสนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้านั้น แรงดีไม่มีแผ่ว อย่าง นาซาหรือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯก็ยังให้ บริษัท จีอีเอวิเอชั่น และ บริษัท แม็กนิกซ์ พัฒนาเครื่องบินไฟฟ้าซึ่งจะสำเร็จสมบูรณ์แบบและนำออกมาใช้ได้ใน ค.ศ.2035
ด้านโบอิ้งซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติสหรัฐฯก็ให้ บริษัท วิสค์แอโร่ ผลิตเครื่องบินโดยสารระบบไฟฟ้าอัตโนมัติทั้งลำ ส่วนแอร์บัสซึ่งเป็นบริษัทเครื่องบินฝั่งยุโรปพัฒนาเครื่องบินไฟฟ้าตั้งแต่ ค.ศ.2010 ไม่ช้าก็จะนำมาใช้ในการขนส่งผู้โดยสารได้จริง
มาในแวดวงการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศกันบ้าง บริษัทขนส่งระหว่างประเทศย่าง ดีเอชแอล ได้สั่งซื้อเครื่องบินที่ใช้ไฟฟ้าของ บริษัท อีวิเอชั่น แล้ว 12 ลำ จะส่งมอบได้ใน ค.ศ.2024 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า นอกจากดีเอชแอลแล้ว บริษัทสายการบินพาณิชย์เคปไอร่า ก็สั่งซื้อฝูงบินไฟฟ้าของบริษัทนี้เพื่อใช้บินให้บริการในเส้นทางการบินที่เชื่อมเมืองในรัฐแมสซาชูเชตส์ของสหรัฐฯในปีหน้าเช่นกัน

นอกจากนั้น เครื่องบินไฟฟ้า ยุคนี้ ยังแข่งขันกันอย่างดุเดือดในเรื่องของ “ความเร็ว” ด้วย อย่างล่าสุด เครื่องบินไฟฟ้า Rolls-Royce ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่าเครื่องบินไฟฟ้าของบริษัทชื่อ Spirit of Innovation ทำลายสถิติความเร็วสูงสุดที่เครื่องบินไฟฟ้าเคยทำได้ กลายเป็นเครื่องบินไฟฟ้าที่เร็วที่สุดในโลก
Rolls-Royce ยังระบุว่า Spirit of Innovation ทำความเร็วได้ 555.9 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 3 กิโลเมตร และ 532.1 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 15 กิโลเมตร เร็วกว่าสถิติเดิม ถึง 213.04 กิโลเมตร/ชั่วโมง และ 292.8 กิโลเมตร/ชั่วโมงตามลำดับ แต่ไม่ได้ระบุว่าสถิติเดิมทำไว้โดยบริษัทไหน หรือเครื่องรุ่นไหน
นอกจากนี้ยังทำสถิติไต่ระดับสู่ความสูง 3,000 เมตรได้ในเวลา 3 นาที 22 วินาที เร็วกว่าสถิติเดิม 4 นาที 22 วินาที ที่ Siemens eAircraft Extra 330LE เคยทำไว้ ถึง 1 นาทีเต็มๆ เช่นกัน

ถนนชาร์จไฟฟ้าได้ ฝันที่เป็นจริงของคนรักยานยนต์ไฟฟ้า

ไม่ใช่แค่อยู่ในขั้นคิดค้นได้ แต่อิสราเอลกำลังจะสร้าง ถนนชาร์จไฟฟ้า เป็นเส้นแรกในโลกแล้ว โดยสตาร์ตอัปสัญชาติอิสราเอล เตรียมสร้างถนนที่สามารถชาร์จพลังงานให้กับรถไฟฟ้า (EV) ในรัฐมิชิแกนเป็นที่แรก ซึ่งคาดการณ์ว่าจะพร้อมทดลองใช้งานปี 2023

โดยบริษัท Electreon Wireless สตาร์ตอัปสัญชาติอิสราเอลได้วางแผนเตรียมสร้างถนนที่มีความยาวกว่า 1.6 กิโลเมตร ให้เป็นถนนต้นแบบที่สามารถชาร์จพลังงานแบบไร้สายให้กับรถ EV ได้ โดยเตรียมการติดตั้งและทดสอบในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐฯ เป็นที่แรก คาดว่าจะสามารถทดสอบการใช้งานภายในปี 2023
สำหรับถนนชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายให้กับรถยนต์ EV เป็นการสร้างถนนที่มีการติดตั้งขดลวดไว้ใต้พื้นถนนลาดยาง เพื่อชาร์จพลังงานให้กับรถยนต์ในรูปแบบของการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการชาร์จแบบไร้สายของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยจะมีการติดตั้งชุดรับสัญญาณแม่เหล็กไว้ใต้ท้องรถเพื่อช่วยให้เกิดการชาร์จพลังงาน และเทคโนโลยีการชาร์จแบบไร้สายนี้จะช่วยให้รถยนต์สามารถชาร์จพลังงานได้โดยไม่ต้องจอด จึงไม่ต้องแวะชาร์จระหว่างทาง

นับเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งโครงสร้างการชาร์จแบบไร้สายบนถนน ซึ่งโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของบริษัทผู้พัฒนาจากเทลาวีฟ ประเทศอิสราเอล กับบริษัทรถยนต์ Ford และ DTE Enery บริษัทด้านพลังงานในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้เริ่มสร้างถนนต้นแบบในย่านคอร์คทาวน์ เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกนเป็นที่แรก เพื่อกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น
การสร้างถนนต้นแบบสายนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Inductive Vehicle Charging Pilot ของรัฐมิชิแกน ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองและใช้พลังงานไฟฟ้า ด้วยการสนับสนุนผลิตและใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มจัดหาเงินทุนจำนวน 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยคาดว่าถนนจะเสร็จและพร้อมสำหรับการทดลองใช้งานภายในปี 2023

เทคโนโลยีการชาร์จแบบไร้สาย จะช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จพลังไฟฟ้าได้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะจอดอยู่หรือวิ่งก็สามารถชาร์จพลังงานได้ โดยไม่ต้องกังวลใจว่าจะแวะเติมพลังงานได้ที่ไหนบ้างหากต้องวิ่งในระยะทางที่ไกลขึ้น

ที่มา :


รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับโลกยานยนต์ไฟฟ้า กดอ่านต่อเลย

มาตรการในฝัน (ที่ยากจะเลียนแบบ) ดันสัดส่วน EV จดทะเบียนใหม่ ใน “นอร์เวย์” พุ่งสูงที่สุดในโลก

4 เหตุผลที่ ตลาด EV CAR ยังไม่บูมสักทีในประเทศยุโรป


ที่มา https://www.salika.co/2022/02/23/3-innovations-support-world-ev-vehicles/