วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ทดลองส่งทำใหม่

“นวัตกรรมการแพทย์” โอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ


กาชาดกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ ลัทธิศาสนา ซึ่งการช่วยเหลือกระทำทั้งในประเทศของตนเอง และต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและบรรเทาทุกข์ทรมานของมนุษย์ทุกหนแห่ง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของทุกคน เคารพต่อสิทธิมนุษยชน สนับสนุน และส่งเสริมความเข้าใจ ความเป็นมิตรภาพและความร่วมมือ รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพ ระหว่างประชากรทั้งมวล


ความเท่าเทียมและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ (Health equity) เป็นสิ่งที่ประชากรโลกทุกคนควรจะได้รับด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียม ปราศจากความแตกต่าง ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ สังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ศาสนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัย โดยในประเทศไทยหลังจากที่มีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนสิทธิในการเข้ารับการบริการในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Universal Coverage for Emergency Patient : โครงการ UCEP) ที่ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาได้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามการดูแลประชาชนคนไทยให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมนั้นในทางปฏิบัติทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น การกระจุกตัวของบุคลากรทางการแพทย์ งบประมาณสาธารณสุขของประเทศไทย การกำกับดูแลค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเอกชน ฯลฯ


“นวัตกรรม” จึงเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางและผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่แพร่ระบาดอยู่ทั่วโลก รวมถึงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางที่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีความเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงกว่าวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์โดยฝีมือคนไทยขึ้นมากมาย เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลน เนื่องจากมีความต้องการทั่วโลก


สำหรับตัวอย่างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ฝีมือคนไทยที่ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤตนี้ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

 

  1. ระบบการติดตาม เช่น Agnos: ระบบดูแลผู้ป่วยโดยชุมชน เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการดูแลผู้ติดเชื้อหรือที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและบุคลากรทางการแพทย์ โดยให้กรอกข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินของทีมแพทย์อาสา เช่น โรคประจำตัว อาการไอ เจ็บคอ หายใจ เหนื่อยหอบ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการตามเกณฑ์ผ่านระบบ 
  2. ระบบสุขภาพทางไกล ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเดินทางมายังโรงพยาบาล เช่น ระบบติดตามการใช้ยาและแนะนำการใช้ยาที่บ้านสำหรับผู้ป่วย ระบบการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วย ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับคัดกรองและติดตามโรคติดต่อ และระบบคัดกรองฟิล์มเอกซ์เรย์ปอดรองรับการอ่านภาพเอกซ์เรย์ 
  3. การเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น ระบบ QueQ สำหรับแก้ปัญหาความหนาแน่นของการให้บริการฉีดวัคซีนและการตรวจหาเชื้อ และ 
  4. การบริหารจัดการอุปทาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็น เช่น ชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แบบรวดเร็ว (ATK)  หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ้ำได้ที่สามารถป้องกันได้ทั้งการรับเชื้อโควิด-19 และ ห้องแยกผู้ป่วยที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศแบบถอดประกอบได้สำหรับผู้ป่วยหนักโรคโควิด-19

  5. นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ยังได้มีโอกาสร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ บริษัท อินทรอนิคส์ จำกัด สนับสนุนและพัฒนาเพื่อสร้าง “เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง (High flow Nasal Cannula - HFNC)” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์ใช้รักษาชีวิตผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีปัญหาในการหายใจ โดยสามารถบำบัดด้วยการให้ออกซิเจนได้มากกว่า ผ่านสายช่วยหายใจทางช่องจมูก ซึ่งปกติเครื่อง HFNC มีการใช้งานอยู่แล้วในสถานพยาบาลสำหรับรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจที่ผิดปกติ แต่ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยวิกฤตและกึ่งวิกฤตเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะมีการระดมจัดซื้อทั้งจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือการขอรับบริจาคจากหน่วยงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีจำนวนจำกัดและมีราคาที่สูง 


    เครื่อง HFNC ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยนี้ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูง ด้วยประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมของบริษัทฯ และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้สร้างต้นแบบที่ผ่านการทดสอบ และได้รับอนุญาตจากทางสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้สามารถผลิตและใช้งานได้ภายใต้ สถานการณ์ฉุกเฉินร่วมกับการควบคุมจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ และมีแผนดำเนินการขยายผล โครงการเพื่อกระจายเครื่อง HFNC ไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อม และอยู่ภายใต้ประกาศข้อกำหนดของ อย. บริษัทฯ และสภากาชาดไทย พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ด้วยเครื่อง HFNC ช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาผู้ผลิตจากต่างประเทศ โดยโครงการที่ขอรับทุนสนับสนุนจาก สนช. นี้จะเป็นการดำเนินการเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงเครื่อง HFNC ไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณสาธารณะสุขของประเทศไทย ทำให้ประชาชนคนไทยให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม


    ที่มา

เทคโนโลยีใหม่

 ประชากรโลกทั้งใบ ณ ปี 2022 มีจำนวน 7.9 พันล้านคน ตามข้อมูลจาก worldometers และในจำนวนนี้ 2 พันล้านคน หรือประมาณ 25% ของประชากรโลก ยังเข้าไม่ถึง “น้ำสะอาด” ตามการประเมินของสภานวัตกรรมยุโรป หรือ EIC (European Innovation Council) ที่เปิดเผยตัวเลขออกมาเมื่อวันน้ำโลก (World Water Day) วันที่ 22 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา

ด้วยภารกิจที่หลายชาติให้ความสำคัญในเรื่องการจัดหาน้ำสะอาดและเพียงพอต่อมนุษยชาติ รวมถึงประเทศ

ต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป (EU) ทางอียูจึงให้การสนับสนุน ให้ความรู้ และเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการที่คิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำน้ำสะอาดและการเข้าถึงน้ำสะอาด เพราะตระหนักว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงเหตุผลด้านคุณภาพชีวิต แต่คือโอกาสทางธุรกิจ 

ในปีนี้ EU ก็ได้ให้ทุนสนับสนุนสตาร์ตอัปเพื่อพัฒนาเรื่องการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยมี 3 บริษัทในยุโรปที่คว้าทุนดังกล่าวได้ และสะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะช่วยบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำอันเป็นหนึ่งในวิกฤตของโลกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

Mimbly
กรองน้ำสะอาดจากการซักล้างในเครื่องซักผ้า
มิมบลีย์ (Mimbly) สตาร์ตอัปจากโปรเจ็กต์รักษ์โลกของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาร์เมอร์ส ในเมืองโกเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ได้พัฒนานวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนามาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างยั่งยืน จากการใช้เครื่องซักผ้าในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป

มิมบลีย์หาวิธีทำให้น้ำที่ผ่านการใช้งานในเครื่องซักผ้าสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ รวมถึงสลายไมโครพลาสติกที่ติดกับเสื้อผ้าไม่ให้ก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมหลังผ่านกระบวนการซักล้าง โดยพัฒนาเทคโนโลยีกรองน้ำสะอาดจากการซักล้าง ด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องซักผ้า ทำงานโดยการดักจับไมโครพลาสติกแยกออกจากน้ำ แล้วส่งผ่านน้ำเหล่านั้นเข้าอุปกรณ์ที่ชื่อ “Mimbox” เพื่อแปลงน้ำเสียเป็นน้ำดีอีกครั้งหนึ่ง

Mimbox จะช่วยทั้งในเรื่องการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบริโภคน้ำโดยไร้ประโยชน์ และสามารถรีไซเคิลน้ำเสียจากการซักล้างกลับมาเป็นน้ำดีที่ใช้ซ้ำได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานในเครื่องทำความร้อน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยในยุโรปที่ทำให้การบริโภคพลังงานมีปริมาณสูงขึ้น

แม้ปัจจุบันอุปกรณ์ Mimbox จากมิมบลีย์จะยังอยู่ในช่วงทดลองใช้กับเครื่องซักผ้าในภาคอุตสาหกรรม เช่น ในโรงแรม หรืออพาร์ตเมนต์ให้เช่า ยังไม่ได้นำไปสู่ตลาดผู้บริโภครายย่อย แต่บริษัทก็พยายามพัฒนาการใช้งานผ่านการเก็บข้อมูลจากลูกค้า เพื่อหาวิธีนำน้ำจากการซักล้างกลับมาใช้ใหม่ และอนาคตจะสามารถนำมาใช้กับเครื่องซักผ้าตามครัวเรือนได้ โดยมีโครงการนำร่องในโกเตนเบิร์ก พร้อมเก็บข้อมูลทั้งเรื่องการประหยัดน้ำ การขจัดไมโครพลาสติก และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อิซาเบลลา ปาล์มเกรน ซีอีโอและผู้ก่อตั้งมินบีลย์ บอกว่า การใช้งาน Mimbox ไม่เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำในเครื่องซักผ้าเท่านั้น แต่สิ่งที่บริษัทกำลังทำคือการสร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นกว่าเดิม และด้วยความรู้ที่บริษัทมี เธอก็หวังว่าโซลูชันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคน้ำอย่างมีประสิทธิภาพได้

Ingeobras
บำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมให้กลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่
อินจีโอบราส (Ingeobras) สตาร์ตอัปจากสเปน ซึ่งมีเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำมันเสียในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ได้พัฒนาระบบการบำบัดน้ำเสียในชื่อว่า “ANAERGY” เพื่อบำบัดน้ำในเบื้องต้น พร้อมกับสร้างพลังงานระหว่างกระบวนการ และการบำบัดน้ำในระดับตติยภูมิ เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง

ANAERGY เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาจากหลายหน่วยงาน เนื่องจากเทคโนโลยีนี้มีความก้าวหน้ามากสำหรับแวดวงอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย อีกทั้งการทำงานของระบบ ANAERGY ยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีผลการวิจัยพิสูจน์ว่าสามารถลดการปนเปื้อนในน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 99% ขณะเดียวกันก็สามารถลดต้นทุนการดำเนินการ การบำรุงรักษา และที่สำคัญคือช่วยลดพื้นที่ใช้สอยในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งแม้จะไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ก็สำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบการทำงานของ ANAERGY มุ่งเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคอาหารและการเกษตร ด้วยความมุ่งมั่นจะเข้าสู่ตลาดระดับบน ผ่านกระบวนการพิจารณาจากฝ่ายกำกับดูแลด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทจะสามารถยกระดับเข้าสู่ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถมีรายได้ สร้างผลกำไรจากการพัฒนาเทคโนโลยีจนเป็นธุรกิจได้

โซเฟีย ควินทานา ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาดและการขายของอินจีโอบราส เปิดเผยว่า กลยุทธ์ใหม่ของยุโรปคือการสร้างสมดุลด้านสภาพภูมิอากาศและความเป็นกลางทางคาร์บอน (Climate Neutrality) ภายในปี 2050 ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมขับเคลื่อน และเธอมั่นใจว่า ด้วยระบบการบำบัดน้ำเสียของ ANAERGY จะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

Hydro Volta
แปลงน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด
ไฮโดรโวลต้า (Hydro Volta) จากเบลเยียม เป็นเจ้าของนวัตกรรมการแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด จากสิ่งที่รู้กันดีว่าน้ำบนโลกใบนี้ 70% คือน้ำทะเล และมีน้ำจืดเพียง 20% เท่านั้น ทั้งยังเป็นน้ำจืดที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคได้เพียงไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นความต้องการเทคโนโลยีสำหรับกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำจึงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่วิธีการแบบเดิมอาจล้าสมัยไปแล้ว รวมถึงการแยกเกลือออกจากน้ำแบบเดิมในบางเทคโนโลยี ยังมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย

ไฮโดรโวลต้ามีเครื่องมือที่ได้การจดสิทธิบัตรและประกาศว่า สามารถแยกเกลือออกจากน้ำ แปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเทคโนโลยีแบบเก่ามากถึง 60%

โซลูชันจากนวัตกรรมของไฮโดรโวลต้านี้ชื่อว่า “SonixED” เป็นระบบการแยกเกลือออกจากน้ำประสิทธิภาพสูงด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ ที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน และเพิ่มประสิทธิภาพของสมองกลในการทำงานของระบบ เป็นเทคโนโลยีที่ทำงานผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีอิเล็กโทรไดอะไลซิส เทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ (SonixED) และเทคโนโลยีสมองกลอื่น ๆ (ออสโมซิสแรงดันต่ำ) เพื่อนำไปสู่การทำ RO (Reverse Osmosis) หรือการแปลงโมเลกุลน้ำเพื่อนำไปใช้กินได้ โดยการทำงานของระบบนี้ มีทั้งตัวแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืดในรูปแบบขนาดพกพาใช้ในครัวเรือน ขนาดกลางและขนาดใหญ่สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในราคาที่เข้าถึงได้

จอร์จ บริก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งไฮโดรโวลต้า บอกว่า น้ำสะอาดต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ทุกที่ และการทำงานของบริษัทจะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นได้จริง

ที่มา :
บทความ “World Water Day: Discover EIC innovations working on water saving solutions” จาก https://eic.eismea.eu
mimbly.se
ingeobras.com/en
hydrovolta.com

เรื่อง : รวิ รัชนีกร