วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

นนวัตกรรม ว้าว ๆ ของแฟง

“ยานยนต์ไร้คนขับ” กับทิศทางการเติบโตในปี 2022-2045 อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 2566 Share : 9,490 Reads “ยานยนต์ไร้คนขับ” (Autonomous Vehicles) หนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีมาแรงคู่กับรถยนต์ไฟฟ้า แต่เชื่อว่าหลายท่านยังไม่ชัดเจนนักว่า เทคโนโลยีนี้จะถูกนำมาใช้จริงบนท้องถนนเมื่อไหร่กัน มาไขประเด็นในบทความนี้ ยานยนต์ไร้คนขับ คืออะไร? ยานยนต์ไร้คนขับ หรือ Autonomous Vehicle คือ เทคโนโลยียานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีคนควบคุม บางครั้งเราเรียกยานพาหนะประเภทนี้ว่า รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car) หรือ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-Driving Car) สืบค้นย้อนกลับไปได้ไกลที่สุดถึงช่วงปี 1925 บริษัท Houdina Radio Control ผู้ผลิตอุปกรณ์วิทยุ ได้สาธิตการใช้คลื่นวิทยุควบคุมรถยนต์ที่นิวยอร์ก โดยหลังจากนั้นก็มีการทดลองใช้วิทยุควบคุมรถมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 1940 นาย Norman Bel Geddes นักอุุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ได้เสนอแนวคิดรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และระบบคมนาคมแห่งอนาคตลงในหนังสือ “Magic Motorways” ว่า มนุษย์ควรถูกแยกออกจากกระบวนการขับขี่ และคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 1960 แนวคิดยานยนต์อัตโนมัติที่ไร้ซึ่งคนขับจะช่วยตอบโจทย์การขนส่งและการขับขี่ในโลกอนาคตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน การหาพนักงานขับรถจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทว่าการผลักดันการใช้ยานยนต์ไร้คนขับยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันโดยเฉพาะความพร้อมของสภาพแวดล้อมบนถนน​ Hitachi Transport System ยกระดับโลจิสติกส์ เล็งใช้รถบรรทุกไร้คนขับ ต้นปี 2019 Hino ลุย ระบบขับขี่อัตโนมัติ Advertisement สมาคมวิศวกรรมยานยนต์นานาชาติ หรือ SAE International ได้จัดทำ “มาตรฐาน SAE J3016” ขึ้นเมื่อปี 2014 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพัฒนายานยนต์ชนิดนี้ ซึ่งแบ่งระดับมาตรฐานของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไว้ 6 level โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Level 0: ระบบของยานยนต์สามารถแจ้งเตือนไปจนถึงแทรกแซงผู้ขับได้ แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ Level 1: ผู้ขับต้องวางมือบนพวงมาลัยตลอดเวลา แต่ระบบสามารถควบคุมเครื่องยนต์ให้ทำงานในความเร็วที่กำหนด เช่น ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ Level 2: ระบบควบคุมยานยนต์ทั้งหมด ทั้งการเร่งเครื่อง การเบรก และการเลี้ยว แต่ผู้ขับขี่ต้องพร้อมควบคุมแทนตลอดเวลา ซึ่งรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในท้องตลาดปัจจุบันจะอยู่ในระดับนี้ Level 3: ผู้ขับสามารถละจากการขับรถไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ดูหนังบนรถ แต่ต้องพร้อมกลับมาขับต่อในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งแม้จะมีรถยนต์หลายรุ่นที่ถูกเรียกว่าระดับ 3 เป็นคันแรกของโลก แต่บริษัทแรกที่ได้รับใบรับรองตามกฎของสหประชาชาติ คือ Mercedes-Benz ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2021 Level 4: ซึ่งหลักๆ จะเหมือนกับ 3 ต่างที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องนั่งตลอด สามารถลุกไปทำอย่างอื่นหรือหลับบนรถได้ และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินรถต้องชะลอจอดข้างทางได้ด้วยตัวเอง โดยปัจจุบันยังไม่มีรถในระดับนี้ทั้งคัน มีเพียงฟังก์ชันบางส่วนเท่านั้น เช่น ระบบจอดรถอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทแรกที่ส่งเข้าสู่ตลาดได้ก็เป็น Benz อีกเช่นกัน หรืออย่าง e-Palette ของโตโยต้าที่วิ่งให้บริการในหมู่บ้านนักกีฬาของโอลิมปิกโตเกียวเอง ก็ถูกนับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในระดับนี้ด้วย Level 5: หรือระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ โดยที่คนขับไม่ต้องทำอะไรเลย ซึ่งก็ยังไม่เกิดขึ้นจริงเช่นกัน ความเคลื่อนไหวล่าสุด ขับขี่อัตโนมัติระดับ 4 และ 5 ยานยนต์อัตโนมัติคือสิ่งจำเป็น สำนักวิเคราะห์อังกฤษคาด ยอดพุ่งทั่วโลก 12 ข้อบังคับ ระบบขับขี่อัตโนมัติ ยานยนต์อัตโนมัติคืออะไร? ตลาดปี 2022 - 2045 มีแนวโน้มอย่างไรบ้าง?, ยานยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ ยานพาหนะไร้คนขับ รถยนต์ไร้คนขับ รถยนต์ไร้คนขับในไทย autonomous vehicles คือ autonomous car คือ self-driving car คือ full self-driving คือ รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รถยนต์ขับเอง รถขับเอง รถยนต์ขับเองได้ รถขับเองได้ รถไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีประเภทใด แนวโน้ม ในอนาคต ของรถยนต์ไร้คนขับ ประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับ ส่วนประกอบของรถยนต์ไร้คนขับ วิวัฒนาการ รถยนต์ไร้คนขับ ระบบ ขับรถ อัต โน มั ต แนวโน้มตลาดยานยนต์ไร้คนขับปี 2022 - 2045 สำนักวิเคราะห์ตลาด Fuji Keizai ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดทำรายงานแนวโน้มตลาดยานยนต์ไร้คนขับทั่วโลกปี 2022 - 2045 เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มถึงความเป็นไปได้ที่ตลาดจะเริ่มเติบโตตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้​ ยานยนต์ไร้คนขับ Level 2 จะมียอดผลิตรวม 3,608,000 คันทั่วโลกในปี 2022 และเพิ่มเป็น 6,176,000 คันในปี 2030 และลดลงเหลือ 6,166,000 คันในปี 2045 ยานยนต์ไร้คนขับ Level 3 จะมียอดผลิตรวม 30,000 คันทั่วโลกในปี 2022 และเพิ่มเป็น 580,000 คันในปี 2030 และลดลงเหลือ 2,847,000 คันในปี 2045 โดยช่วงต้นนั้น ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3 จะจำกัดอยู่ที่รถหรูเป็นหลัก จากนั้นจึงเริ่มนำมาใช้ในรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งข้อจำกัดใหญ่มาจากกฎหมายจราจร จึงอาจต้องรอถึงปี 2030 ยานยนต์ไร้คนขับ Level 4-5 จะมียอดผลิตรวม 90,000 คันทั่วโลกในปี 2022 และเพิ่มเป็น 433,000 คันในปี 2030 และลดลงเหลือ 2,051,000 คันในปี 2045 ปัจจุบัน ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองกับรถโดยสารในจีนและสหรัฐฯ เช่น แท็กซี่และรถบัสไร้คนขับ และคาดว่าจะเริ่มแพร่หลายในปี 2030 เป็นต้นไปเช่นเดียวกัน ซึ่งสำหรับ Level 5 แล้วไม่ใช่แค่ข้อกฎหมายเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับอีกด้วย รวมข่าวความคลื่อนไหว ‘ยานยนต์ไร้คนขับ’ ในไทยและทั่วโลก สัมมนา “การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย" ชูเทคโนโลยี CASE - CAV ต้องตามให้ทัน สยย. ระดมสมองภาครัฐ และเอกชนร่างแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี มุ่งสู่ยานยนต์อัตโนมัติ (CAV) วิศวะจุฬาฯ จับมือหน่วยงานรัฐฯ ทดสอบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต สวทช. เดินหน้าพัฒนา ‘รถมินิบัสไฟฟ้าขับขี่อัตโนมัติ’ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ญี่ปุ่น นำร่อง “รถไร้คนขับ” ให้บริการทางการแพทย์ เริ่มแล้ว! อุตฯ โลจิสติกส์ หันใช้เทคฯ ยานยนต์อัตโนมัติส่งพัสดุ “เมาไม่ขับ” ยานยนต์อัตโนมัติยังรู้ Toyota เผยโฉม e-Palette ใช้ร่วม MaaS สู่ระบบขนส่งมวลชนแห่งอนาคต Apple ลุยยานยนต์ ส่งรถขับขี่อัตโนมัติเข้าตลาดปี 2024 XCMG เผยโฉมรถบดถนนไร้คนขับ #ยานยนต์ไร้คนขับ คือ #เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ #เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ #ยานพาหนะไร้คนขับ #รถยนต์ไร้คนขับ คือ #autonomous vehicles คือ #autonomous car คือ #self-driving car คือ #full self-driving คือ #รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง #รถยนต์ขับเองได้ #รถไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีประเภทใด #แนวโน้มในอนาคตของรถยนต์ไร้คนขับ #ประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับ #วิวัฒนาการ รถยนต์ไร้คนขับ #ระบบขับรถอัตโนมัติ บทความยอดนิยม 10 อันดับ สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022 ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่? 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030? เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH Self-Driving Car Autonomous Vehicles Autonomous Driving Automotive Technology อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้า

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566